วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555



บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเกี่ยวกับ  น้ำพริกนรก
กลุ่มผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงานดังนี้  โดยมีข้อที่ครูสอนในวิชาที่บูรณาการจำนวน 8  วิชา โดยสรุปดังนี้
                                วิชา  คณิตศาสตร์รหัสวิชาค31101
 เซต{Sets}
ในวิชาคณิตศาสตร์ใช้คำว่า  เซต  ในการกล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆและเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มเช่น
          เซตของชื่อวันในสัปดาห์
         เซตของคำตอบของสมการ   -4=0
เรียก สิ่งที่อยู่ในเซต ว่า สมาชิก (elements) เช่น
      เซตของวันในสัปดาห์ มีสมาชิกได้แก่ จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์ และอาทิตย์
      เซตคำตอบของสมการ    -4=0 มีสมาชิกได้แก่ -2 และ 2





วิชา ฟิสิกส์    รหัสวิชา ว30201
พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceaeมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าCapsicumfrutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili,chileหรือ chilliมาจากคำภาษาสเปน ว่า chileโดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน[แก้]ชนิดของพริก
พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนูพริกไทยพริกหยวกพริกเหลืองพริกชี้ฟ้าพริกหนุ่มพริกกะเหรี่ยงประเทศไทยนั้นมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่
พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่ม C. annuum)
พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวนพริกขี้หนูใหญ่(ในกลุ่ม C. furtescens)
ในพริกนั้นมีสารที่สำคัญคือ Capsaicin นอกจากนั้นยังมีสารอื่นๆที่ให้ความเผ็ดอีก คือ Dihydrocapsaicin,Nordihydrocapsaicin,Homodihydrocapsaicin ,และ Homocapsaicin
สาร Capsaicin นี้ ถูกค้นพบในรูปผลึกบริสุทธิ์โดย พี เอ บุชธอลซ์ ต่อมา แอล ที เทรชศึกษาสารนี้และให้ชื่อว่า Capsaicin มีสูตรทางเคมีคือ C18H27NO3 ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยทำให้ประสาทรับความรู้สึกไหม้ที่เนื้อเยื่อ กระตุ้นการผลิตเมือกออกมาป้องกันการระคายเคืองและกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยย พืชจำพวกพริกนี้จะผลิตสารนี้ออกมาเพื่อป้องกันการถูกบริโภคโดยสัตว์กินพืช โดยสารนี้จะพบในเนื้อเยื่อของผลพริก มากกว่าในเมล็ค นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าแมงมุมทาแรนทูลาก็มีพิษซึ่งมีส่วนประกอบด้วยเช่นกันของสารนี้เช่นกันสาร capsaicin บริสุทธิ์จะมีลักษณะเป็น คริสตัล หรือ ไขใสๆ ไม่มีกลิ่น และมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ


วิชา ชีววิทยา  รหัสวิชา ว32101
พริก:ชื่อวิทยาศาสตร์  Capsicumfrutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chileหรือ chilli
สรรพคุณ   ของพริก                                                                                                                               พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )
พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicinและ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม( Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค





วิชา เคมี    รหัสวิชา ว302201
สารเคมีภายในพริกกลุ่มของสารเคมี Capsaicinoidได้แก่
Capsaicin
Dihydrocapsaicin
Nordihydrocapsaicin
Homodihydrocapsaicin
Homocapsaicin
โดยที่ Capsaicin จะพบในพริกมากที่สุด คือ 97% และให้รสเผ็ดมากที่สุด
นักเคมีชื่อ "วิลเบอร์ สโควิลล์" ได้ศึกษาปริมาณสาร capsaicin ในพริกแต่ละสายพันธุ์ จากทั่งโลก และใช้ข้อมูลนี้ จัดทำสเกลสโควิลล์ขึ้น ซึ่งเป็นสเกลซึ่งวัดความเผ็ดของพริกเมื่อเทียบกับสารcapsaicin บริสุทธิ์ แต่กรรมวิธีการตรวจสอบสาร Capsaicin ของ สโควิลล์ไม่เที่ยงตรงเนื่อจากเขาใช้การสกัดน้ำจากพริกชนิดนั้นๆมาแล้วให้อาสาสมัคร 5 คนลองชิมแล้วให้ความเห็นว่าพริกนั้นเผ็ดประมาณระดับไหน ความไม่เที่ยงตรงนี้ทำให้มีผู้พัฒนาวิธีตรวจสอบสารนี้ในพริกใหม่ โดยให้ชื่อว่า highperformance liquid chromatography ซึ่งเป็นการวัดความร้อนที่สารเคมีนี้ผลิตออกมา และนำไปคำนวณโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะได้สเกลแบบใหม่คือ ASTA pungency ยูนิต
สารสำคัญอีกอย่างที่มีอยู่ในพริกและมีประโยชน์ในด้านต้านมะเร็งคือ แคโรทีนอยด์ เราจะสามารถสังเกตได้เลยว่าผักผลไม้ใดมีสารนี้หรือไม่โดยดูจากสี เหลือง ส้ม และ แดง แคโรทีนอยด์นี้ก็คือรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน โดยมีการรวมตัวกับออกซิเจนทำให้เป็นแคโรทีนอยด์ ในพริกจะมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าแอลฟ่าแคโรทีน สารเบต้าแคโรทีนนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก กล่าวคือ เมื่อถูกย่อยในลำไส้เล็กแล้ว จะกลายเป็น เรตินอลซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินเอ และจะถูกเก็บสะสมไว้ในตับเพื่อนำไปใช้ในคราวจำเป็น เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ดี นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในรูปแบบยาเม็ดอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพเป็นจำนวนมาก พวกเขาพบว่าการรับประทานเม็ดแคโรทีนสังเคราะห์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด และมะเร็งอีกหลายชนิดมากขึ้น เนื่องจากในยาเม็ดสังเคราะห์จะมีปริมาณแคโรทีนอยด์มากเกินความจำเป็นต่อร่างกาย แต่พวกเขายังไม่ได้ทำการวิจัยในสารแคโรทีนอยด์ธรรมชาติซึ่งมาจากพืช การรับประทานแคโรทีนอยด์มากไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน ถึงแม้จะเป็นแคโรทีนอยด์จากผักผลไม้ธรรมชาติสดๆ การรับประทานแครอทหรือผักผลไม้ที่มีสารแคโรทีนอยด์มากเกินไป จะทำให้ผิวหนังเป็นสีเหลือง ซึ่งเรียกว่า ภาวะ carotenemiaนอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่ภาวะที่ร่างกายมีวิตามินเอมากเกินไปด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
สารสุดท้ายในพริกที่จะกล่าวถึงคือกรด ascorbic acid ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินซี C6H8O6 วิตามินซี ละลายน้ำได้ พบได้ทั่วไปในพืช และผลไม้ทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบในสัตว์หลายชนิดอีกด้วย เป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เป็นตัวการร่วมในการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลในสัตว์ เกี่ยวข้องกับการสร้างคอลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังและหลอดเลือด และช่วยในการขนส่งไขมันไปยังไมโทรคอนเดรียให้สันดาปอาหารได้เป็นพลังงาน
ในสมัยก่อน ยุคที่อังกฤษล่าอาณานิคม ลูกเรือที่เดินทางข้ามทวีปโดยใช้เวลาเป็นเดือน ๆ มักเป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน เจมส์ลินด์ หมอของบริษัทการค้าอินเดียตะวันออกเป็นคนแรกที่สรุปว่าสารบางอย่างในผลไม้จำพวกส้ม สามารถรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ อีกหลายร้อยปีต่อมา อัลเบิรต์ กอยจี้และทีมนักวิจัย สามารถแยกวิตามินซีบริสุทธิ์ได้ และตั้งชื่อมันว่ากรดแอสคอบิก
ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ชายคือ 90 มิลลิกรัม หญิงคือ 75 มิลลิกรัม ถ้าหากรับประทานเกินความจำเป็นของร่างกาย ทำให้ปวดท้อง และอาจทำให้ท้องเสียได้









วิชาสังคมรหัสวิชา ส31101
การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
                      การรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมมาเป็นเวลานานเช่น การสร้างบ้านเรือน สร้างเป็นบ้านใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม ใช้พืชพรรณในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร เป็นยารักษาโรค เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และเป็นเครื่องนุ่งห่ม แต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทรัพยากร และภูมิปัญญา ดังตัวอย่างการใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้
1แหล่งท่องเที่ยว
ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งบางแห่งได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น น้ำตก ชายหาด เกาะแก่ง ชายฝั่ง ปะการัง อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ถ้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชุมชนหลายแห่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบพักค้าง (Home Stay)ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเข้าไปพักอาศัยอยู่ร่วมกับคนในท้องถิ่น เพื่อสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นต่างๆปัจจุบันการท่องเที่ยวรูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่นโฮมสเตย์คลองรางจระเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โฮมสเตย์บ้านหัวหาด จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น
2 เครื่องใช้ทั่วไป
คนไทยรู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาจัดทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น นำไม้มาสร้างบ้านทำเครื่องเรือน ของเล่น ของใช้ ปลูกฝ้ายและเส้นไหมนำมาทอผ้า นำดินเหนียวมาปั้นโอ่ง ไห  นำเยื่อไม้มาทำกระดาษและร่ม เป็นต้น นอกจากการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาทำเครื่องใช้แล้ว ยังคิดทำเครื่องใช้เหล่านั้นให้สวยงาม และ มีเอกลักษณ์เป็นของท้องถิ่นแต่ละแห่งอีกด้วย

3อาหาร
อาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชพรรณและสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ไม่ว่าอาหารคาว อาหารหวาน โดยเฉพาะเครื่องปรุงอาหารคาว ใช้พริกหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบกะเพรา ในการเพิ่มรสชาติให้อาหาร การใช้ผักต่างๆในการประกอบอาหาร เช่น มะเขือ แตงกวา หน่อไม้ เป็นต้น อาหารอาจจะใช้แป้งข้าวจ้าวหรือแป้งข้าวเหนียว มะพร้าว น้ำตาล รวมทั้งยังมีผลไม้เช่น ทุเรียน มังคุด ส้ม รับประทานเป็นอาหารว่างอีกด้วย ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีการปรุงอาหารและชื่ออาหารที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างอาหารไทยในภาคต่างๆมีดังนี้
3.1อาหารไทยภาคเหนือ เช่น น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว แกงฮังเล ส้มตำ แกงโฮะ แกงหน่อไม้ แมงมัน และจี่กุ้ง ผัก เช่น ผำหรือไข่แหน เตาหรือตะไคร่น้ำ ผักแพะ เป็นต้น อาหารว่าง เช่น ข้าวแช่ ขนมปากหม้อ ขนมเบื้อง เป็นต้น
3.2อาหารไทยภาคกลาง มีน้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ แกงส้ม แกงเผ็ด ต้มยำ ส้มตำ พะแนง มัสมั่น ปลาทู ปลาช่อน เนื้อทอด ไข่เจียว ผัก เช่น มะเขือ แตงกวา บวบ อาหารว่าง เช่น ข้าวมันส้มตำ ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น
3.3อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปลาร้า แจ่ว ต้มไก่ ต้มปลา แกงหน่อไม้ แกงขี้เหล็ก แกงอ่อม ส้มตำ ปลาย่าง เนื้อย่าง กบ เขียด แย้ ไข่มดแดง ส่วนผักนอกจากผักทั่วๆไปแล้ว ก็มีผักติ้ว ผักกะโคน ยอดมะตูม อาหารว่าง เช่น ไส้กรอก ข้าวจี่ เป็นต้น
3.4อาหารไทยภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา น้ำบูดู ข้าวยำ ปลาทะเล ผักเฉพาะถิ่น เช่น สะตอ เม็ดเหรียง ลูกเนียง อาหารว่าง เช่น ขนมลา ขนมพอง เป็นต้น
4 ยารักษาโรค
พืชตามท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มพืชสมุนไพรมีอยู่หลากหลาย โดยคนไทยใช้รักษาโรคมาเป็นเวลานาน บางอย่าง มีการนำมาใช้โดยไม่ต้องปรุงแต่งใดๆพืชแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณและวิธีการใช้แตกต่างกัน เช่น ใบตำลึงคั้นสดทาแก้พิษแมลงกัดต่อย เป็นต้น
วิชาภาษาไทย    รหัสวิชา ท31101
เรื่อง  เรียงความ
เรียงความคือศิลปะอย่างหนึ่งของการใช้ภาษาเรียบเรียงความคิดให้เป็นเนื้อเรื่องโดยแสดงความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความเข้าใจ ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวยดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์และฝึกเขียนอยู่เสมอ
องค์ประกอบของเรียงความ
มี ๓ ส่วนใหญ่ ๆ คือ
คำนำ
เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถันคำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา
การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ
  • ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
  • ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย
  • อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิตหรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้
เนื้อเรื่อง
เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิดและข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบการเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบายการพรรณนา หรือยกโวหารต่างๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้
การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้
ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ
ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวนซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ
เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอดย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ
สรุป
เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียนกระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิดและความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตามให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคมสุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย้อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)
  • อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น
  • ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้
  • ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก
ขั้นตอนการเขียนเรียงความ
การเลือกเรื่อง
หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเองแล้ว ควรเลือกตามความชอบหรือความถนัดของตนเอง
การค้นคว้าหาข้อมูล
อาจทำได้โดยการค้นคว้าจากหนังสือนิตยสารวารสารอินเทอร์เน็ตหรือสื่ออื่น
วางโครงเรื่อง
เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้ว ต้องวางโครงเรื่อง โดยคำนึงถึงการจัดการจัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน เช่น
1.            จัดลำดับหัวข้อตามเวลาที่เกิด
2.            จัดลำดับหัวข้อจากหน่วยเล็กไปสู่หน่วยใหญ่
3.            จัดลำดับตามความนิยม
โครงเรื่องของงานเขียนควรจัดหมวดหมู่ของแนวคิดสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโครงเรื่องเปรียบเสมือนแปลนบ้านผู้สร้างบ้านจะต้องใช้แปลนบ้านเป็นแนวทางในการสร้างบ้านการเขียนโครงเรื่องจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เขียนเรียงความเขียนได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ถ้าไม่เขียนโครงเรื่องหรือไม่วางโครงเรื่องเรียงความอาจจะออกมาไม่ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ
การเรียบเรียง
ตามรูปแบบของเรียงความ ตามองค์ประกอบ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป (บางคนอาจเขียนคำนำหลังสุดก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน)

ลักษณะของเรียงความที่ดี
นอกจากต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ส่วน คือคำนำเนื้อเรื่องและสรุปแล้วยังต้องมีลักษณะดังนี้อีกด้วย
เอกภาพ
คือ ในแต่ละย่อหน้าความคิดสำคัญต้องมีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันกับหัวข้อเรื่อง
สัมพันธภาพ
คือ ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตลอดทั้งเรื่องโดยจะต้องมีการวางโครงเรื่องที่ดี จัดลำดับย่อหน้าอย่างมีระบบระเบียบเรียบเรียงด้วยคำเชื่อมที่เหมาะสม
สารัตถภาพ
คือ มีเนื้อหาสาระที่สมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่องโดยในแต่ละย่อหน้าประโยคสำคัญต้องชัดเจน ประโยคขยายมีน้ำหนักเชื่อถือได้ ถูกต้องตามข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเน้นย้ำให้ประโยคใจความสำคัญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น















วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา  รหัสวิชา 31202


อาหารคือ  สิ่งที่มนุษย์กินดื่มหรือรับเข้าร่างกายโดยไม่มีพิษแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหลอและทำให้กระบวนการต่างๆในร่างกายดำเนินการไปอย่างปกติดังนั้นอาหารประจำวันของมนุษย์จึจำเป็นต้องประกอบด้วยอาหารหลายๆอย่าง
อาหารมี 5 หมู่ดังนี้
หมู่ที่ 1 เรียกว่า นม ไข่เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงานให้สารอาหารโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  หมู่ที่ 2 เรียกว่า ข้าว แป้งเผือก มัน น้ำตาล ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ 3 เรียกว่า พืชผักต่างๆให้สารอาหารวิตามินและแร่ธาตุเพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้ปกติ
หมู่ที่ 4 เรียกว่า ผลไม้ต่างๆให้สารอาหารและประโยชน์เหมือนหมู่ที่3                                                                                                             หมู่ที่ 5 เรียกว่าน้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ให้สารอาหารไขมันเพื่อให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย
สารอาหารหมายถึงสารอาหาร เป็น สารเคมีที่ สิ่งมีชีวิต ต้องการเพื่อการดำรงชีพ และ เติบโต หรือ เป็น สารที่ที่ใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย โดยที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะรับสารอาหารจากสิ่งแวดล้อมของมัน[1]
การนำเข้า สารอาหาร นั้นต่างกันกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆกัน สัตว์ และ โพรทิสต์ จะนำเข้าสารอาหารโดยระบบการย่อยภายใน ส่วนพืชนั้นจะนำเข้าสารอาหารได้โดยตรงจากดิน ผ่านทางราก หรือนำเข้าสารอาหารจากบรรยากาศ
สารอาหารสำหรับสัตว์สารอาหาร คือ อาหารที่กินเข้าไปแล้ว ถูกย่อยด้วยกระบวนการย่อยจนได้โมเลกุลของอาหารที่เล็กลงจนร่างกายสามารถนำเอาไปใช้ได้ เราแบ่งสารอาหารออกเป็น 6 กลุ่ม ดั้งนี้
ประโยชน์จากสารอาหาร
ได้พลังงาน พลังงานที่ได้จากอาหารทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆทำงานได้
เจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในขณะเป็นทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่ มนุษย์ใช้อาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และเมื่อยามสูญเสียเซลล์ในร่างกายบางส่วน อาหารก็จะสามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้
เพื่อสุขภาพ
สารอาหารสำหรับพืช
สารอาหารสำหรับพืช เป็นสารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ (1) ถ้าเกิดพืชขาดมันแล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตากปกติ หรือ (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)[2] สารอาหรที่จำเป็นสำหรับพืช ได้แก่ คาร์บอน (C),ออกซิเจน (O),ไนโตรเจน (N),ฟอสฟอรัส (P),โปแตสเซียม (K),แคลเซียม (Ca),กำมะถัน (S),แมกนีเซียม (Mg),ซิลิคอน (Si),โบรอน (B),คลอรีน (Cl),แมงกานีส (Mn),เหล็ก (Fe),สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu),โมลิบดีนัม (Mo),นิเกิล (Ni),เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na)
โดย ไนโตรเจน (N),ฟอสฟอรัส (P), และ โปแตสเซียม (K) ถูกจัดเป็น มหาสารอาหารหลัก (primary macronutrients);แคลเซียม (Ca),กำมะถัน (S),แมกนีเซียม (Mg), และ ซิลิคอน (Si) ถูกจัดเป็น มหาสารอาหารรอง (secondary macronutrients); และ โบรอน (B),คลอรีน (Cl),แมงกานีส (Mn),เหล็ก (Fe),สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu),โมลิบดีนัม (Mo),นิเกิล (Ni),เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na) ถูกจัดเป็น จุลสารอาหาร (micronutrients)
มหาสารอาหาร (macronutrients) นั้นคือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง) จุลสารอาหาร คือสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณไม่มาก และวัดเป็นหน่วย ppm โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5 ถึง 200 ppm หรือ น้อยกว่า 0.02% โดยน้ำหนักแห้ง [3]



















 วิชา ศิลปะรหัสวิชาศ31101
การประดิษฐ์ท่ารำในการแสดงนาฎศิลป์
การประดิษฐ์ท่ารำ  ในการแสดงนาฏศิลป์ มีหลากหลายประการซึ่งต้องนำมาพิจารณาประกอบ ได้แก่ ประเภทของการแสดง ดนตรี บทร้อง เครื่องแต่งกาย อารมณ์ ความรู้สึก และ การเคลื่อนไหวของผู้แสดง ทั้งนี้เพื่อการประดิษฐ์ท่ารำมีความประณีต สวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันทั้งท่ารำ ทำนอง จังหวะของเพลง และเครื่องแต่งการเหมาะสมกับชุดการแสดง ให้หัวข้อนี้ได้กล่าวถึง แนวทางในการประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่ และเป็นหมู่
               การประดิษฐ์ท่ารำเป็นคู่
   การประดิษฐ์ท่ารำเป็นคู่ ผู้ประดิษฐ์จะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่สำคัญ คือ จังหวะทำนองเพลง บทร้อง และเครื่องแต่งกาย ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำต้องนำมาหลอมรวมให้มีความเป็นเอกภาพ
            ความเป็นเอกภาพในการประดิษฐ์ท่ารำ การนำองค์ประกอบต่างๆ อาทิ ตนตรี จังหวะ บทร้อง และเครื่องแต่งกาย ทุกส่วนสามารถเชื่อมโยงกันได้  เพื่อสร้างให้เกิดความกลมกลืน ไม่ควรมีความแตกต่างในองค์ประกอบกันอย่างมากมาย จนทำให้การประดิษฐ์ท่ารำชุดนั้น ขาดความเป็นเอกภาพ  ประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่  ทีแนวดังนี้
            1 การประดิษฐ์ท่ารำแนวอนุรักษ์    ส่วนมากจะใช้ท่ารำที่เป็นแบบแผนมาตั้งแต่เดิม คือ เพลงช้า-เพลงเร็ว  เพราะทุกท่ารำอยู่ในเพลงช้า-เพลงเร็ว ท่ารำในกลอนตำรานั้นเป็นการตีความหมายตามบทร้องและทำนองเพลง
2 การประดิษฐ์ท่ารำแนวความคิดสร้างสรรค์  จะเป็นการประดิษฐ์ท่ารำขั้นใหม่ โดยมีแนวความคิดมาจากการรับอิทธิพลของต่างปนระเทศทั้งตะวันออกและตะวันตก
1 รูปแบการรำที่เป็นคู่  หมายถึง การรำเพียงสองคนแต่โบราณนิยมรำในการเบิกโรง
2 จังหวะ ทำนองเพลง บทร้อง มีความสำคัญในการประดิษฐ์ท่ารำ ดังนี้
    การประดิษฐ์ท่ารำให้ตรงกับจังหวะและทำนอง ถ้าเป็นเพลงที่มีบทร้องต้องตีความหมายของบทร้องเป็นภาษาท่ารำ
3 เครื่องแต่งกาย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประดิษฐ์ท่ารำ เรื่องสีของเครื่องแต่งกายที่เป็นการรำคู่ต้องเลือกให้เหมาะสม เช่น สีเขียวคู่กับสีแดง
            การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่
  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่ ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อน ที่มีผู้รำตั้งแต่สองคนขึ้นไปโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รำเอกลักษณ์และความโดดเด่นอยู่ที่การพร้อมเพรียงและความงดงามในการแปรแถว
            ข้อคำนึงถึงในการประดิษฐ์ท่ารำหมู่
1 การแปรแถว การแสดงนาฏศิลป์ไทยในสมัยโบราณไม่นิยมการแปรแถวให้หลากหลายเหมือนในปัจจุบันนิยม
2 ท่ารำต้องสัมพันธ์กับเพลง การประดิษฐ์ท่ารำควรฟังก่อนแล้วจึงคิดท่ารำให้กลมกลืนกับบทเพลง
3ท่ารำเป็นหมู่คณะ การประดิษฐ์ท่ารำที่มีลักษณะการรำเป็นหมู่คณะ ใช้ผู้แสดงจำนวนมาก จะต้องคำนึงถึงความพร้อมเพรียงเป็นหลัก
4 ท่ารำที่มีบทร้อง การประดิษฐ์ที่มีท่ารำที่มีบทร้อง ยึดความหมายของบทเพลงเป็นหลัก ในการประดิษฐ์ท่ารำที่ถูกต้อง
5ที่รำที่มีแต่ทำนองเพลง การประดิษฐ์ท่ารำที่ไม่มีบทร้องมีแต่ทำนองเพลงให้ยึดท่วงนำนองของเพลงที่บรรเลง เช่น อารมณ์เพลงที่แสดงถึงความรัก ความโกรธ ความตื่นเต้น คึกคัก สนุกสนาน เป็นต้น
6ท่ารำนาฏศิลป์พื้นเมือง การคิดประดิษฐ์ท่ารำนาฏศิลป์พื้นเมือง ต้องยึดหลักลีลาท่ารำเฉพาะถิ่นทั้งสี่ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและ ภาคใต้
7 ท่ารำต้องสอดคล้องกับรสนิยมการประดิษฐ์ท่ารำ ควรให้ตรงกับรสนิยมของสังคมในสมัยนั้นๆ








การงานอาชีพและเทคโนโลยี  รหัสวิชา  ง30201
                  ขั้นตอนวิธีการสร้างและเข้าเว็บ Bloggger

ลงชื่อเข้าใช้งาน
ส่วนบนของฟอร์ม
อีเมล
รหัสผ่าน
อยู่ในสถานะลงชื่อเข้าใช้
ส่วนล่างของฟอร์ม
Blogger
ในการดำเนินการต่อ คุณต้องเข้าสู่ Blogger ด้วยบัญชีผู้ใช้ Google ของคุณ
โปรดเข้าสู่ระบบเพื่อติดต่อฝ่ายสนับสนุน เพื่อให้ทีมสนับสนุนของเราสามารถค้นหาบัญชีและบล็อกของคุณได้
ไม่สามารถเข้าสู่ระบบหรือ ข้ามการตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อไปยังฟอร์มความช่วยเหลือโดยตรง


ส่วนบนของฟอร์ม
ส่วนล่างของฟอร์ม

การติดต่อกับเรา
เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยคุณให้ได้รับคำตอบสำหรับคำถามของคุณอย่างรวดเร็วที่สุดต่อไปนี้เราจะแสดงวิธีการค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ:
  • วิธีที่จะได้รับคำตอบเร็วที่สุดอีกวิธีหนึ่งคือการโพสต์คำถามของคุณในกลุ่มช่วยเหลือผู้ใช้ในคอมมิวนิตี้นี้ยินดีให้ความช่วยเหลือแก่กันและกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรานอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ของ Google โพสต์ให้คำแนะนำอยู่เป็นระยะ ขณะนี้กลุ่มช่วยเหลือมีให้บริการในภาษาต่อไปนี้
ส่วนบนของฟอร์ม
ส่วนล่างของฟอร์ม
  • แก้ปัญหาของคุณได้แล้วตอนนี้
เราได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดสำหรับหัวข้อต่อไปนี้แล้วซึ่งน่าจะช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาของคุณได้ในทันที
ส่วนบนของฟอร์ม
เปลี่ยนภาษา:
ส่วนล่างของฟอร์ม

ไทย
เราได้เปิดใช้งานการตรวจหาสแปมอัตโนมัติสำหรับความคิดเห็นคุณควรตรวจสอบความคิดเห็นในกล่องจดหมายสแปมของคุณเป็นระยะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจหาสแปมของบล็อกเกอร์หรือรายงานปัญหา
บล็อกใหม่
สร้างบล็อกของคุณทันที
คุณไม่ใช่ผู้เขียนของบล็อกใดคุณสามารถสร้างบล็อกใหม่และเริ่มส่งบทความได้ทันทีถ้าไม่พบบล็อกของคุณ
 3การดูหน้าเว็บ - 1โพสต์เผยแพร่ล่าสุดเมื่อ ส.ค. 28, 2012
เรื่องรออ่าน|บล็อกทั้งหมด
เพิ่ม
·          
o    Blogger Buzz
o     
เพิ่มบล็อกที่จะติดตามในรายการเรื่องรออ่านของคุณ
คุณไม่ได้ติดตามบล็อกใดในขณะนี้ ใช้ปุ่ม "เพิ่ม"เพื่อป้อนบล็อกที่คุณต้องการติดตามในรายการเรื่องรออ่านของคุณเรียนรู้เพิ่มเติม
ข่าวสารล่าสุดจากBlogger Buzz
5 วันที่ผ่านมาby A Googler
Last year we introduced mobile templates on Blogger, and Dynamic Views for the desktop. Since then, over 2 million blogs have started using Dynamic Views on desktop, and users have asked us for more mobile features. So today, we’re bringing the speed and advanced reading experience of Dynamic Views to mobile.  Configuring your blog to use a Dynamic View on mobile will result in a reading experience that mirrors the desktop, but is optimized for mobile.

To configure a Dynamic View for mobile on your blog, select the "Template" tab, and then click on the settings cog under the “Mobile” preview.  

If you’re currently using Dynamic Views on the desktop and have the “Default” mobile template selected, you don’t need to do anything -- your blog will automatically start using the mobile optimized view when viewed from a compatible mobile browser. For more information, see
Blogger Help.

Currently, only the “Classic” view, which is best suited for small screens, will be shown on mobile. Tablets with large screens will get the full desktop experience. As with the older mobile templates, supported browsers are WebKit-based browsers (such as Android Browser, Chrome for Android and iOS, and Mobile Safari).  

We hope your readers enjoy the modern, compelling experience that this mobile update provides.
Get more news from the Blogger team at the Blogger Buzz
ส่งข้อเสนอแนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น